วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

หัวใจชายหนุ่ม


รัชกาลที่ 6
    พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   
19พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ.2423 เวลา 08.55 นาฬิกา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราวุธ

  ที่มา 1919
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต”เมื่อ พ.ศ.2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน
19ลักษณะคำประพันธ์  
หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับในเรื่องดังนี้
 1.หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 246- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 246- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ.ศ. ไว้
 2.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “พ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
  เรื่องย่อ 1919
             นายประพันธ์เขียนจดหมายถึงนายประเสริฐซึ่งเป็นเพื่อนรักของเขา นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกจากประเทศอังกฤษ เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย พ่อของเขาหวังจะให้แต่งงานกับแม่กิมเน้ย แต่ประพันธ์ไม่ชอบใจการแต่งตัวของหล่อนที่ประดับประดามากเกินไปและดูเกินงาม จนทำให้เขาปลีกตัวออกไปจาก การคลุมถุงชนจนได้พบกับแม่อุไร ซึ่งเป็นหญิงสาวหัวนอกด้านวัฒนธรรมตะวันตกเช่นเดียวกับประพันธ์ ท้้งสองถูกคอกันมักพากัน เที่ยวเตร่สม่ำเสมอจนในที่สุดเกิดไดเ้สียกันจนแม่อุไรต้้งครรภ์จึงจำเป็นต้องแต่งงานกัน บนความไม่พอใจของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายแต่เมื่อแต่งงานไปนานๆ นิสัยของแม่อุไรได้เปลี่ยนไป ชอบข่มสามีต่อหน้าคนอื่น หยาบกระด้าง ไร้ซึ่งมารยาท  จนหนักเข้าเธอเริ่มเหินห่างประพันธ์ไปคบกับพระยาตระเวนนคร เสือผู้หญิงที่ประสงค์ได้ผู้หญิงคนไหนย่อมได้ทุกครั้งไป รวมถึงแม่อุไรที่ต้องหย่ากับประพันธ์ด้วยหวังว่า พระยาตระเวนนครจะให้เกียรติเธอราวภรรยาคนสำคัญ แต่กลับตาลปัตร ทางรักของ แม่อุไรพังลงเมื่อพระยาตระเวนนครมีหญิงคนใหม่ เธอจึงกลับมาขอคืนดีกับประพันธ์แต่ถูกปฏิเสธ จนเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านชีวิตของนายประพันธ์ไปทำให้เขาเริ่มคิดได้ว่า บางทีการดำเนินชีวิตแบบชาวตะวันตกนั้น มิสามารถใช้ได้กับวิถีแห่งความเป็นไทย ในที่สุดเขาได้พบกับนางสาวศรีสมาน หญิงสาวผู้ที่เขาคิดว่า จะเยียวยาและบำรุงชีวิตของเขาให้ฟื้นคืนมาได้ ส่วนแม่อุไรก็ได้พบรักกับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าผู้มั่งมีแม้หน้าตาของเขาจะมิได้หล่อเหลา แต่มีเงินมากพอที่จะซื้อความสุขให้กับแม่อุไรได้เช่นกัน เรื่องราวต่างๆ ได้จบลงด้วยจดหมายฉบับสุดท้ายแต่เพียงเท่านี้… 19 19 19

อิเหนา

บทพระราชนิพนธ์ใน  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  in6

ที่มา   19 19
       อิเหนามีมาตั้งแต่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเรื่องเล่ากันว่าพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล  คือ  เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานปันหยีหรือเรื่องอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงพระราชนิพนธ์นิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง  อิเหนา แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก  นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิมต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมือนจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีกครั้งเป็นอันเสร็จ
19 ลักษณะคำประพันธ์  กลอนบทละคร  clickfd
กลอนบทละคร  กลอนบทละคร  มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่มักมีคำขึ้นต้นบทด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”  โดยคำว่า เมื่อนั้น” ใช้เมื่อขึ้นต้นกับตัวละครที่สำคัญ เช่นตัวเอกหรือกษัตริย์   “บัดนั้น ”  ใช้ขึ้นต้นตัวละครที่เป็นตัวรอง เช่นเสนา อำมาตย์หรือตัวละครธรรมดา   มาจะกล่าวบทไป”  ใช้ขึ้นต้นเมื่อเริ่มตอนใหม่ (วิเชียร  เกษประทุม  ลักษณะคำประพันธ์ไทย) นอกจากนั้นยังมีการขึ้นต้นด้วยวลี ตั้งแต่ ๒ คำ -๔ คำหรืออาจมากกว่าก็ได้
4fa3b902a79fd4fa3b902a79fd4fa3b902a79fd4fa3b902a79fd

มาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ

   คำนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) ซึ่งเป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รอบรู้ในวิชาภาษาไทยและได้ชื่อว่าเป็นข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งยังเป็นครูที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม อุทิศชีวิตเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติอีกด้วย
072072 ที่มา
คำนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการมาตาปิตุคุณ : มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าขอไหว้เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูง
คำนมัสการพระอาจริยคุณ : ครูอาจารย์ผู้ใหญ่และผู้น้อยทั้งหลายล้วนเป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐยิ่ง ได้อบรมสั่งสอนให้ศิษย์มีวิชาความรู้ ได้ให้โอวาทตักเตือนด้วยเมตตาธรรม ข้าพเจ้าขอกราบไหว้คุณครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
ลักษณะคำประพันธ์ 072 072
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
อินทรวิเชียรฉันท์ 11 เป็นฉันท์ที่นำมาแต่งคำนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจริยคุณ มีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้
indharavichien11 (1)
072   คำนมัสการมาตาปิตุคุณ   072
                                     ข้าขอนบชนกคุณ           ชนนีเป็นเค้ามูล
                           ผู้กอบนุกูลพูน                      ผดุงจวบเจริญวัย
                          ฟูมฟักทะนุถนอม                  บ บำราศนิราไกล
                          แสนยากเท่าไรไร                   บ คิดยากลำบากกาย
                          ตรากทนระคนทุกข์               ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
                          ปกป้องซึ่งอันตราย               จนได้รอดเป็นกายา
                          เปรียบหนักชนกคุณ             ชนนีคือภูผา
                          ใหญ่พื้นพสุนธรา                  ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
                        เหลือที่จะแทนทด                  จะสนองคุณานันต์
                         แท้บูชไนยอัน                       อุดมเลิศประเสริฐคุณ
072   คำนมัสการอาจาริยคุณ   072
                                       อนึ่งข้าคำนับน้อม                ต่อพระครูผู้การุญ
                           โอบเอื้อและเจือจุน                  อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ
                           ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ              ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
                           ชี้แจงและแบ่งปัน                    ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
                          จิตมากด้วยเมตตา                   และกรุณา บ  เอียงเอน
                           เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์      ให้ฉลาดและแหลมคม
                          ขจัดเขลาบรรเทาโม-                หะจิตมืดที่งุนงม
                          กังขา ณ อารมณ์                      ก็สว่างกระจ่างใจ
                          คุณส่วนนี้ควรนับ                      ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
                          ควรนึกและตรึกใน                    จิตน้อมนิยมชม